50 ปี สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย

2017-11-18 01:07:06 By Admin |  30629    0    0

Picture1.jpg

50 ปี สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย
50th Anniversary of The Association of Medical Technologist of Thailand


โดย รศ.ทนพ.สมชาย วิริยะยุทธกร
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี

 

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2500 มีประกาศ กฤษฎีกาจัดตั้ง “คณะเทคนิคการแพทย์” มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ขึ้น (ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ตอนที่ 60 วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีกูล วีรานุวัตติ์ เป็นคณบดี คณะเทคนิคการแพทย์ คนแรก เป็นการเริ่มต้นของ ประวัติศาสตร์เทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย โดย ในระยะแรกได้เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญาเทคนิค การแพทย์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2503 ได้ปรับขยาย หลักสูตรเป็นระดับปริญญาตรี โดยรับนักศึกษา อนุปริญญาปีสุดท้ายที่มีคะแนนตลอดหลักสูตร เกิน 70% เข้าศึกษาต่ออีก 1 ปี ได้รับปริญญา- วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) โดยมีบัณฑิต รุ่นแรก 3 คน เมื่อมีผู้สำ เร็จการศึกษาจำนวนหนึ่ง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีกูล วีรานุวัตติ์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์เชวง เดชะไกศยะ และ แพทย์หญิง เติมศรี ภัทรารมย์ จึงยื่นขอจดทะเบียนใบอนุญาต จัดตั้งสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นองค์กรกำกับดูแลและช่วยเหลือผู้ประกอบ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2505

นายอภัย จันทวิมล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกใบอนุญาตเลขที่ ต.68/2506 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีกูล วีรานุวัตติ์ จัดตั้งสมาคมเทคนิคการแพทย์ แห่งประเทศไทย มีที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ณ คณะเทคนิคการแพทย์ บ้านเลขที่ 2 ตำบลศิริราช อำ เภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อรักษาระดับวิชาเทคนิคการแพทย์ ให้ทัดเทียมเหมือนกับนานาประเทศ
  2. เพื่อผดุงส่งเสริมวิชาเทคนิคการแพทย์ ในประเทศไทย ให้ก้าวหน้าขึ้นไป
  3. เพื่อสมานสามัคคี เกื้อกูลสนับสนุน ซึ่งกันและกันในผู้ที่มีอาชีพร่วมกัน
  4. เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในด้านวิชาการ และเผยแพร่โฆษณา ความรู้ทางเทคนิคการแพทย์ภายในประเทศและ ภายนอกประเทศ
  5. เพื่อร่วมรักษาจรรยาในวิชาชีพให้เป็น ที่ไว้ใจแก่แพทย์ และแก้ให้วิชาเทคนิคการแพทย์ ก้าวหน้า ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
  6. สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ได้รับการจดทะเบียนจากกองตำ รวจสันติบาล ใน เลขลำดับ จ.863 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2508 โดยมีวัตถุประสงค์ของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่ง ประเทศไทยใน 5 ข้อดังกล่าว

นับจากที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาต ให้จัดตั้งสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2506 และสมาคมฯ ได้ ดำ เนินงานมาถึงปัจจุบันในปี พ.ศ. 2556 เป็นเวลา 50 ปีแล้ว สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีบทบาทสำคัญหลายประการในการทำ ให้เกิดการ พัฒนาวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อ สังคม ประเทศชาติและนานาประเทศ แต่ข้อมูลหลัก ฐานการดำ เนินงานของสมาคมยังกระจัดกระจายอยู่ กับกรรมการผู้รับผิดชอบในแต่ละช่วงเวลา และคณะ กรรมการบริหารในยุคแรกๆ ก็มีอายุมากแล้ว ข้อมูล บางอย่างอาจมีความคลาดเคลื่อนขาดการยืนยันความ ถูกต้อง และยังไม่มีผู้รวบรวมเป็นกิจจะลักษณะ ในโอกาสครบรอบ 50 ปี สมาคมเทคนิคการแพทย์ แห่งประเทศไทย ผู้เขียนซึ่งเป็นกรรมการสมาคมฯ ในตำ แหน่งต่างๆ และมีส่วนร่วมในการดำ เนิน กิจกรรมที่สำคัญต่างๆ มากกว่า 30 ปี มีข้อมูลเอกสาร ภาพถ่าย จำนวนมากที่น่าจะบันทึกเป็นประวัติของ สมาคมฯ ได้ จึงดำริที่จะรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่ มีอยู่เช่น สรุปรายงานการประชุมสามัญประจำปีของ สมาคมฯ หนังสือบทคัดย่อการประชุมวิชาการ วารสาร เทคนิคการแพทย์ จุลสารเทคนิคการแพทย์ และ หนังสือเอกสารของสมาคมฯ พร้อมด้วยข้อมูลจาก เว็บไซต์ของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย (www.amtt.org) สภาเทคนิคการแพทย์ (www.mtcouncil.org) และ เมดเทคทูเดย์ (www.medtechtoday.org) รวมทั้งจากการสัมภาษณ์อดีตนายกสมาคมฯ เลขาธิการ อุปนายก และผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ อาทิ รองศาสตราจารย์ เดชา ร่มไทรย์ รองศาสตราจารย์เทียนชัย ไชยเศรษฐ อาจารย์ประสิทธิ์ ชนะรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เลอสรวง ชวนิชย์ ศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์ ปรัชชญาสิทธิกุล รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ นายบัณฑิต คูวิจิตรสุวรรณ นายสมชัย เจิดเสริมอนันต์ นางนฤมล สถิโรภาส นางนัยนา วัฒนศรี นางสาวสุภี วงษ์มณีพิรักษ์ นางสุจิตรา มานะกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาลนี อัมรานนท์ และ นายไพบูลย์ รัตนชัยพรพันธ์ เป็นต้น

จุดประสงค์ของการเขียนบทความเพื่อ ต้องการให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ได้ทราบประวัติความเป็นมาของสมาคมฯ โดยชี้ให้ เห็นว่ากว่าวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จะเจริญมาได้ถึง ทุกวันนี้ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ทุกท่าน ทุกสมัย พร้อมทั้งนักเทคนิคการแพทย์รุ่นพี่ มีความ ตั้งใจเสียสละและทุ่มเททำงานสืบต่อกันมาด้วยความ เหนื่อยยาก และหวังว่าผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิค การแพทย์รุ่นหลังจะร่วมกันสืบสานช่วยกันทำ ให้ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ มีความก้าวหน้าและพัฒนา อย่างต่อเนื่องสืบไป โดยมองผลกระทบต่อวิชาชีพ เป็นหลัก ด้วยความสามัคคี เกื้อกูล ช่วยเหลือกัน เพื่อทำ ให้วิชาชีพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยและ สังคม โดยผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานด้วยความสุข และมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

บทความนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนแรกเป็น ข้อมูลหลักของสมาคมฯ และส่วนที่สองเป็นกิจกรรม สำคัญต่างๆ ของสมาคมฯ ที่ได้ดำ เนินการ โดยแบ่ง ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ ในธรรมนูญสมาคม เทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2554 ทั้ง 7 ข้อ

 

ข้อมูลหลักของสมาคมฯ
ข้อบังคับ/ธรรมนูญสมาคมฯ

สมาคมฯมีข้อบังคับกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และ ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการแก้ไขข้อบังคับ โดยลดจำนวนคณะกรรมการจาก 21 คนเหลือ 15 คน ในปี พ.ศ. 2520 สมาคมฯ ได้ประกาศใช้ข้อบังคับ ที่ยกร่างขึ้นใหม่ และต่อมาในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ได้มีการแก้ไขข้อบังคับสมาคมฯ โดย เปลี่ยนจากข้อบังคับเป็นธรรมนูญสมาคมฯ และย้าย สถานที่ตั้งสำนักงาน จากคณะเทคนิคการแพทย์ ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ไปอยู่ ณ เลขที่ 116/11 หมู่ที่ 8 ซอยสังคมสงเคราะห์ แขวง วังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ได้มีการ ปรับปรุงธรรมนูญสมาคมฯ อีกครั้ง โดยธรรมนูญ สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 ได้ใช้ต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2554 จึงมีการแก้ไข ปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญ คือ วาระ การดำ รงตำแหน่งของนายกสมาคมฯ เปลี่ยนจาก วาระละ 2 ปี เป็น นายกสมาคมฯ อยู่ในตำแหน่งได้ คราวละ 3 ปี และไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน โดยประกาศ ใช้ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

กรรมการสมาคมฯ

ในระยะเวลา 50 ปี (พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2556) มีคณะกรรมการบริหารสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่ง ประเทศไทย จำนวน 24 ชุด นายกสมาคมฯ จำนวน 13 คน เป็น ชาย 12 คน หญิง 1 คน มีรายชื่อและ ปีที่ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ดังนี้

  • ชุดที่ 1 ศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2510
  • ชุดที่ 2 ศาสตราจารย์นายแพทย์เชวง เดชะไกศยะ พ.ศ. 2510-พ.ศ. 2513
  • ชุดที่ 3 ร.อ. สามารถ พัวไพโรจน์ รน. พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2515
  • ชุดที่ 4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพล พลธีระ พ.ศ. 2515-พ.ศ. 2517
  • ชุดที่ 5 นายแสงชัย ไหลวัฒนา พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2519
  • ชุดที่ 6 รองศาสตราจารย์เดชา ร่มไทรย์ พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2521
  • ชุดที่ 7-8 อาจารย์ดาวลัต สิตังกัง พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2525
  • ชุดที่ 9-10 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เลอสรวง ชวนิชย์ พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2529
  • ชุดที่ 11 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เนตร สุวรรณ- คฤหาสน์ พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2531
  • ชุดที่ 12-13 ศาสตราจารย์ ดร.เวคิน นพนิตย์ พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2535
  • ชุดที่ 14-19 รองศาสตราจารย์สมชาย วิริยะยุทธกร พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2547
  • ชุดที่ 20 ศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์ ปรัชชญาสิทธิกุล พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2549
  • ชุดที่ 21-24 รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน (พ.ศ.2558 : ผู้แก้ไขเพิ่มเติม ทนพญ.พรสุรี พงษ์สุชาติ)

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับการดำ รงตำแหน่งนายก สมาคมฯ ในประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

นายกสมาคมฯ คนแรก คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2506- พ.ศ. 2510)
นายกสมาคมฯ ที่อยู่ในตำแหน่งนาน ที่สุด คือ รองศาสตราจารย์สมชาย วิริยะยุทธกร ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม 6 วาระ ในชุดที่ 14-19 เป็นเวลา 12 ปี (พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2547)
นายกสมาคมฯ หญิงคนแรก คือ รอง ศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ ชุดที่ 21-24 (พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน)
นายกสมาคมฯ จากสถาบันการศึกษา ที่มากที่สุด คือ จากมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 4 คน และจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 4 คน
นายกสมาคมฯ ที่มาจากภาคเอกชน คือ นายแสงชัย ไหลวัฒนา ชุดที่ 5 (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2519) และ อาจารย์ดาวลัต สิตังกัง ชุดที่ 7-8 (พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2525)
นายกสมาคมฯ ที่มาจากส่วนภูมิภาค คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เนตร สุวรรณคฤหาสน์ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชุดที่ 11 (พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2531)


ที่ทำการสมาคมฯ

ในการขออนุญาตจัดตั้งสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ได้กำหนดที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ณ คณะเทคนิคการแพทย์ บ้านเลขที่ 2 ตำบล ศิริราช อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ต่อมาได้ย้ายตามสถานที่ทำงานของนายกสมาคมฯ เช่น ภาค วิชาเวชศาสตร์ชันสูตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2523 อาจารย์ดาวลัต สิตังกัง นายกสมาคมฯ ในขณะนั้น ได้รวบรวมเงินบริจาคจากสมาชิกซื้อที่ดินและตึกแถว สามชั้นครึ่ง กว้าง 4 เมตร ยาว 12 เมตร พร้อมเนื้อที่ ด้านหลังลึก 20 เมตร อยู่บ้านเลขที่ 116/11 หมู่ที่ 6 แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ราคารวมทั้งสิ้น 540,000 บาท เพื่อเป็นที่ทำการ สมาคมฯ แต่ไม่ได้ย้ายเข้าไปใช้เป็นที่ทำการ เนื่องจาก ไม่สะดวกในการประสานงาน และจำ เป็นต้องมี เจ้าหน้าที่ประจำ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นภาระของ สมาคมฯ จึงได้ให้บริษัทจำหน่ายเครื่องมือและน้ำยา ทางเทคนิคการแพทย์เช่า เพื่อหารายได้เข้าสมาคมฯ และได้ใช้สถานที่ทำงานของนายกสมาคมฯ เป็นที่ทำการ สมาคมฯ ต่อไป เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์เนตร สุวรรณคฤหาสน์ เป็นนายกสมาคมฯ ใช้คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ทำ การ สมาคมฯ ศาสตราจารย์ ดร.เวคิน นพนิตย์ และ รองศาสตราจารย์สมชาย วิริยะยุทธกร เป็นนายก สมาคมฯ ใช้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นที่ทำการ สมาคมฯ นานถึง 16 ปี จากนั้นเมื่อศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์ ปรัชชญาสิทธิกุล เป็นนายกสมาคมฯ ได้ ย้ายที่ทำการสมาคมฯ ไปที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม แล้วย้าย มาที่ อาคารจุฬารัตน์ 1 คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ เป็นนายกสมาคมฯ จนถึงปัจจุบัน

ใน ปีพ.ศ. 2552 รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ นายกสมาคมฯ ได้แต่งตั้งให้ นายนิเวศน์ ประยูรเธียร รองศาสตราจารย์สมชาย วิริยะยุทธกร ที่ปรึกษาสมาคมฯ นายสมชัย เจิดเสริม- อนันต์ และนายมณี เตชวิริยะ เป็นคณะกรรมการ จัดหาที่ทำการถาวรของสมาคมฯ และได้ดำ เนินการ สำ รวจอาคารสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นที่ทำการ ถาวรของสมาคมฯ จนกระทั่งวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 สมาคมฯ ได้ซื้ออาคารสำนักงาน 7 ชั้น เนื้อที่ 56 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 6 ซอย 52/1 ถนนรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร ในวงเงิน 18 ล้านบาท และขณะนี้อยู่ในระหว่าง การปรับปรุงให้เป็นที่ทำการถาวรของสมาคมฯ และ ที่จัดประชุมสัมมนาวิชาการ ในวงเงินประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557

 

สมาคมฯ ในพระอุปถัมภ์

รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ นายกสมาคมฯ ได้มีหนังสือสมาคมเทคนิคการแพทย์ แห่งประเทศไทย ที่ สทพท.นย 118/2555 ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง เพื่อขอให้นำความ กราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ขอประทานพระกรุณาทรง รับสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย อยู่ใน พระอุปถัมภ์ ราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ พระบรม มหาราชวัง มีหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0012.3/8977 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556 ถึง รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ นายก สมาคมฯ แจ้งว่าราชเลขาธิการได้นำความกราบทูล ทราบฝ่าพระบาทแล้ว ทรงรับสมาคมเทคนิคการแพทย์ แห่งประเทศไทย อยู่ในพระอุปถัมภ์ นับเป็นสิริมงคล ต่อวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ นำมาซึ่งความชื่นชมยินดี และปลาบปลื้มใจแก่นักเทคนิคการแพทย์ทั้งมวลเป็น ล้นพ้น ดังนั้นชื่อสมาคมทั้งภาษาไทยและภาษา อังกฤษ คือ “สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่ง ประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” “The Association of Medical Technologist of Thailand under the Patronage of HRH Princess Soamsawali”

 

สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ในการพัฒนา สาธารณสุข

สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน เป็นองค์กรเอกชนสาธารณ- ประโยชน์ในการพัฒนาสาธารณสุข และได้รับการ พิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจัดสรร งบประมาณสนับสนุนองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ในการพัฒนาสาธารณสุข ทะเบียนเลขที่ ส.3 เมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยสมาคมฯ ได้รับ การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ จากกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2536 หลายโครงการ อาทิ โครงการส่งเสริมคุณภาพวิชาชีพเทคนิคการแพทย์โดย ระบบสารสนเทศทางชันสูตรสาธารณสุข โครงการ แนะนำ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์แก่โรงเรียนระดับ มัธยมศึกษา และโครงการสำรวจบุคลากรที่ทำงานใน ห้องปฏิบัติการชันสูตรโรค เป็นต้น

 

29 มิถุนายน เป็นวันเทคนิคการแพทย์ไทย

องค์กรวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ อัน ประกอบด้วยสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศ ไทย สภาเทคนิคการแพทย์ และสภาคณบดีสถาบัน ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เห็น ชอบตามที่รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ฉัตรชัย ศรไชย คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอในการประชุมคณะกรรมการสภาเทคนิคการ แพทย์ ครั้งที่ 3/2550 วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2550 ให้กำหนดวันที่ 29 มิถุนายนของ ทุกปีเป็น วันเทคนิคการแพทย์ไทย เนื่องจากเป็นวันสถาปนา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ตามประกาศกฤษฎีกาการจัดตั้ง คณะเทคนิค การแพทย์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (ลงใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอนที่ 60 วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป และเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีเทคนิค การแพทย์ไทย สภาเทคนิคการแพทย์ โดยคณบดี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ฉัตรชัย ศรไชย) ได้ประสานกับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จัดทำ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 50 ปี เทคนิคการแพทย์ไทย ชนิดราคา 10 บาท จำนวน 3 ล้านเหรียญ

 

เพลง สี และดอกไม้ประจำวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนา ศานติยานนท์ นายกสมาคมฯ ชุดที่ 24 ได้ริเริ่มให้มีการจัดทำ เพลง และคัดเลือก สี และดอกไม้ประจำ วิชาชีพเทคนิค การแพทย์ขึ้น โดยในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 สมาคมฯ ได้ประกาศให้สมาชิกทราบทั่วกันดังนี้

เพลงประจำ วิชาชีพ คือ เพลง ดุริยาราชาวดี มีความหมายว่า บทเพลงแห่งพระราชา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ศราวุธ สุทธิรัตน์ คณะเทคนิค การแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เจ้าของรางวัลชนะเลิศการประกวดร้อยกรองระดับชาติ หลายรางวัล เป็นผู้ประพันธ์คำ ร้อง นายธานินทร์ เคนโพธิ์ เป็นผู้ประพันธ์ทำนอง และ นายภิทูร พลชนะ เป็นผู้เรียบเรียงดนตรี ซึ่งทั้งสองเป็นเจ้าของผลงาน บทเพลงรักแห่งแผ่นดิน ซึ่งเป็นเพลงเทิดพระเกียรติ พ่อหลวงของชาวไทย เพลงดุริยาราชาวดี ขับร้องโดย นักร้องชาย นายธานินทร์ เคนโพธิ์ และ นักร้องหญิง คุณสุชัญญ์ญา นรปฏิพัทธิ์


สีประจำวิชาชีพ คือ สีแดงเลือดนก
ดอกไม้ประจำวิชาชีพ คือ ดอกราชาวดี


โลโก้ 50 ปี สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่ง ประเทศไทย สมาคมฯ

 2.jpg

สมาคมฯ ได้จัดให้มีการประกวดโลโก้ 50 ปี สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย โดยได้รับ การสนับสนุนเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท จาก นายนิเวศน์ ประยูรเธียร บริษัท กิบไทย จำกัด โดย ผู้ชนะเลิศในการประกวดโลโก้ คือ คุณขนาน กิมเทศ ความหมายของโลโก้ 50 ปี สมาคมเทคนิค การแพทย์แห่งประเทศไทย คือ

50 (สีทอง) หมายถึง ครบรอบ 50 ปีทอง ของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย การใช้ ตัวเลขอารบิกแสดงถึงความเป็นสากล ลักษณะอักษร แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และปลายเลขศูนย์ แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของวิชาชีพ AMTT หมายถึง สมาคมเทคนิคการแพทย์ แห่งประเทศไทย (เป็นชื่อย่อสมาคมฯ เป็นภาษา อังกฤษ) หยดเลือดสีแดง ข้างในมีกล้องจุลทรรศน์ และ ฟลาสก์ หมายถึง ความเป็นวิชาชีพเทคนิคการ แพทย์ เครื่องหมาย Infinity (ตรงกลาง) หมายถึง ความมุ่งมั่นในการพัฒนาทางวิชาการ และวิชาชีพ เทคนิคการแพทย์มาอย่างต่อเนื่องและต่อไปไม่สิ้นสุด

 

อ้างอิง
50 ปี สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย (50th Anniversary of The Association of Medical Technologist of Thailand), สมชาย วิริยะยุทธกร – วารสารเทคนิคการแพทย์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3 ธันวาคม 2556. [ลิงก์]

Copyright © 2009-2024 สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย
Web counter : 1078146 (Online : 6)